วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557







เล็บครุฑ

ครุฑทอดมัน ครุฑใบเทศ เล็บครุฑฝอย (กรุงเทพฯ) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 205)
 
            เล็บครุฑมีหลายชนิด ได้แก่ ครุฑนก ครุฑหงอนไก่ ครุฑใบมะตูม มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Polyscias balfouriana Bailey. ครุฑอีแปะ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Polyscias filicifolia Bailey. ครุฑทอดมัน เล็บครุฑ ครุฑใบเทศ ครุฑผักชี มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Polyscias fruticosa Harms. ครุฑใบใหญ่ ครุฑใหญ่ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Polyscias guilfoylei Bailey. ครุฑทองคำ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Polyscias pinnata Forst. (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 401) ต้น ลำต้นอาจสูง 2.5 เมตร ลำต้นส่วนยอดสีเขียวอมน้ำตาลเกือบดำ มีกระสีน้ำตาลอ่อนตามกิ่งมีรูอากาศเห็นได้ชัด ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ติดกับกิ่งแบบบันไดเวียนความยาวของใบแตกต่างกัน ใบย่อยมีรูปร่างและขนาดต่างๆ กัน รูปขอบขนานรูปหอกแคบกว้าง 0.5-4 เซนติเมตร ยาว 1-12 เซนติเมตร ขอบใบหยักลึกแบบฟันเลื่อย หยักแบนขนนก ปลายใบเสี้ยวแหลม กมโดนใบแหลมตัดตรง เว้าเป็นรูปหัวใจเส้นกลางใบและส้นใบเห็นชัด ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบผสม มีแกนกลางช่อยาว 60 เซนติเมตร มีกิ่งแตกออกจากแกนกลางยาว 30 เซนติเมตร ดอกติดเป็นกระจุก ๆ แบบดอกผักชีกระจุกละ 12.20 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน รูปลูกข่าง ผล ผลรูปเกือบกลม มีเนื้อ เมื่อแห้ง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 205)
 
         
            ไม่มีข้อมูลสารอาหาร ข้อมูลทางอาหาร ใบและยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดแกล้มลาบ หลู้ ก้อย ชุบแป้งทอดให้กรอบ เป็นผักจิ้มน้ำพริก (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 205)
         
ครุฑทุกชนิดมีสรรพคุณเหมือนกัน
ใบ รสหอมร้อน ตำแล้วพอกแก้ปวดบวมอักเสบ
ทั้งต้น รสฝาดหอม สมานแผล แก้ไข้
ราก รสหอมร้อน ต้มดื่มขับปัสสาวะ ระงับประสาท แก้ปวดข้อ สูดดมขับเหงื่อ
(วุฒิ วุฒิธรรมสาร, 2540, 401; กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 205)
 
            ตลอดปี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cairns Fan Palm , Dwarf Fan Palm
ชื่อวงศ์ : -
ชื่อสามัญ :
ชื่อพื้นเมือง : ปาล์มมูลิไอถิ่นกำเนิด : ออสเตรเลีย นิวกินี
          ปาล์มลำต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 10 เมตร ใบรูปพัดขนาดใหญ่ ถึง 1.50 เมตร ขอบใบหยักลึก โคนกาบใบติดทนทาน และมีเส้นรยางค์สีน้ำตาลปกคลุม ขอบก้านใบมีหนามและขนสีน้ำตาลปกคลุมช่อดอกออกซอกกาบใบ ชูตั้งขึ้น สีเหลืองอมน้ำตาล








พะยูง (Siamese Rosewood) 
เป็นชื่อของต้นไม้เนื้อแข็งที่เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามชนิดหนึ่ง จัดเป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูงอย่างหนึ่งและมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคล มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ ขะยุง , แดงจีน, ประดู่เสน
พะยูงเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดหนองบัวลำภู
     พะยูงเป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ ใบเป็นช่อแบบขนนกปลายใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับจำนวน 7 - 9 ใบ ขนาดกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ดอก ขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบ และตามปลายกิ่ง ผล เป็นฝักรูปขอบขนานแบนบางขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร มีเมล็ด 1-4 เมล็ด







มะคำดีควาย
ชื่อสามัญ Soap Nut Tree, Soapberry
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sapindus emarginatus Wall.[2] Sapindus rarak A. DC.[1]
จัดอยู่ในวงศ์ COMPOSITAE (ASTERACEAE)[1],[4]
สมุนไพรมะคำดีควาย ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า ประคำดีกระบือ ประคำดีควาย ส้มป่อยเทศ (เชียงใหม่), มะซัก (ภาคเหนือ), มะคําดีควาย (ภาคกลาง), คำดีควาย (ภาคใต้), สะเหล่เด (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชะแซ ซะเหล่เด ณะแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หลี่ชีเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ลำสิเล้ง หมากซัก (ลั้วะ) เป็นต้น[1],[5]
ลักษณะของมะคำดีควาย
     ต้นมะคำดีควาย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เรือนยอดของต้นหนาทึบ ลำต้นมักคดงอ มีความสูงของต้นได้ประมาณ 10-30 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว ยอดอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล พรรณไม้ชนิดนี้มักพบขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้งในทุกภาคของประเทศไทย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด[2],[6],[7]



ชัยพฤกษ์
ชื่อสามัญ Javanese Cassia
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia javanica L. 
วงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE 
ชัยพฤกษ์ เป็นไม้มงคล ตามชื่อ หมายถึงต้นไม้แห่งชัยชนะ ใบใช้ประดิษฐ์เป็นพวงมาลัยสวมศีรษะ เพื่อเป็นเกียรติยศยิ่งใหญ่ แก่กวีและนักดนตรีในสมัยโบราณ สำหรับของไทย ช่อชัยพฤกษ์ประดับเป็นมงคลหลายที่ เช่น บนอินทรธนูข้าราชการ และประดับประกอบดาวบนอินทรธนูและหมวกของทหารและตำรวจทั้งหลาย
ตำนานชัยพฤกษ์
ตำนานนี้ปรากฏในเทพปกรณัมของกรีก มีอยู่ว่า มีนางอัปสรนางหนึ่งชื่อ ดาฟเน่ (daphne) เป็นลูกสาวของเทพประจำแม่น้ำสายหนึ่งชื่อพีนีอูส
วันหนึ่งดาฟเน่ออกไปเที่ยวเล่นริมป่าไม่ไกลจากแม่น้ำ เธอได้พบกับเทพอพอลโลหรือสุริยเทพเข้าโดยบังเอิญ เทพอพอลโลหลงรักเธอโดยทันที และพยายามฝากรักด้วยคำที่นุ่มนวล แต่ความพยายามนั้นไร้ผล เมื่ออพอลโลสืบเท้ายังไม่ทันเข้าใกล้ เธอก็วิ่งไม่คิดชีวิต เค้ายิ่งวิ่งตามเธอก็ยิ่งวิ่งหนี และวิ่งหน้าสู่แม่น้ำ โดยตระหนักว่าตัวเธอเองเริ่มอ่อนแรง และเค้าที่เป็นคนแปลกหน้าใกล้ถึงตัวแล้ว พอดีถึงริมฝั่งน้ำจึงร้องขอให้พ่อของเธอช่วย สิ้นคำร้องขอ ร่างของเธอค่อยกลายเป็นต้นไม้โดยเท้าทั้งคู่เปลี่ยนเป็นราก แขนทั้งสองข้างและผมพลิ้วสยายกลายเป็นกิ่งก้านใบ เสื้อผ้าเปลี่ยนเป็นเปลือกห่อหุ้มลำต้นที่ยังสั่นไหวด้วยความกลัว ดาฟเน่ได้กลายเป็นต้นชัยพฤกษ์ไปแล้วด้วยความช่วยเหลือของบิดา








ตะคร้ำ

ชื่อสามัญ          (ไทย)                     กะตีบ  แขกเต้า  ค้ำ  หวีด (ภาคเหนือ)  ตะคร้ำ (ภาคกลาง ภาคเหนือ)  ปีชะออง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี)  อ้อยน้ำ (จันทบุรี)
(อังกฤษ)        -
ชื่อวิทยาศาสตร์                Garuga pinnata Roxb.

ชื่อวงศ์                         Burseraceae
การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ
                   ตะคร้ำ  เป็นพันธุ์ไม้ที่พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ในที่ ๆ ค่อนข้างราบและใกล้ลำห้วยทั่ว ๆ ไป และตามป่าเบญจพรรณชื้น ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 50-800 เมตร

ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
                   ตะคร้ำเป็นไม้ยืนต้นขนาดลาง สูง 10-20 เมตร โตวัดรอบ 100-200 ซม. ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง โคนต้นเป็นพูพอน เรือนยอดมีกิ่งก้านสาขา ตามกิ่งอ่อนและก้านช่อดอกมีขนสีเทา ๆ กระจายทั่วไป จะมีรอยแผลใบปรากฏอยู่ตามกิ่ง เปลือกสีน้ำตาลปนเทาแตกเป็นสะเก็ดหรือเป็นหลุมตื้น ๆ ทั่วไป เปลือกในสีนวล มีทางสีชมพูสลับ และมียางสีชมพูปนแดงไหลออกเมื่อสับดู ยางนี้จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองคล้ำเมื่อทิ้งไว้นาน กระพี้สีชมพูอ่อน ๆ แก่นสีน้ำตาลแดง

                   ใบ  ออกเรียงเวียนสลับกันเป็นกลุ่มตอนปลาย ๆ กิ่ง ช่อหนึ่ง ๆ มีใบย่อย 7-13 ใบ เรียงตรงข้ามกัน หรือทแยงกันเล็กน้อย ใบย่อยรูปมนแกมรูปขอบขนาน ขนาด 2-4 x 3-10 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบสอบหรือหยักเป็นติ่งแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยถี่ ๆ ใบอ่อนมีขนนุ่ม ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ใบแก่จะร่วงก่อนผลิดอก และจะเริ่มผลิใบใหม่เมื่อดอกเริ่มบาน

                   ดอก  สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เป็นดอกสมบูรณ์ ออกเป็นช่อใหญ่ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง โคนกลีบรอบกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 10 อัน รังไข่มี 5 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 ปลายหลอดท่อรังไข่มี 5 แฉก ก่อนออกดอกจะผลัดใบหมด ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม และเป็นผลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม

                   ผล  ลักษณะกลมรี ขนาดเล็ก ๆ อุ้มน้ำ







คํามอกหลวง
 ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia sootepensis Hutch.
จัดอยู่ในวงศ์ RUBIACEAE
คำมอกหลวง ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า แสลงหอมไก๋ หอมไก๋ (ลำปาง), ไข่เน่า (นครพนม), ผ่าด้าม ยางมอกใหญ่ (นครราชสีมา), คำมอกช้าง (ภาคเหนือ), ไม้มะไขมอก (คนเมือง), ซือเก่าพรึ (ม้ง), เบล่เด่อปุดย (ปะหล่อง) เป็นต้น

ลักษณะของคำมอกหลวง
      ต้นคำมอกหลวง หรือ ต้นคำมองช้าง มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยที่ดอยสุเทพ[5] สามารถพบได้ตั้งแต่พม่า ไทยและลาว ในประเทศไทยจะพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[6] โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กผลัดใบในช่วงสั้นๆ ก่อนออกดอก ลำต้นมีความสูงของต้นประมาณ 7-15 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มกลมและโปร่ง เรือนยอดโปร่ง ลำต้นมักคดงอ แตกกิ่งน้อย (บ้างว่าแตกกิ่งก้านแผ่กว้าง) กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีขน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีครีมอ่อนหรือสีเทาถึงสีเทาเข้ม แตกเป็นสะเก็ด หลุดออกมาเป็นแผ่นบางๆ และมียางเหนียวสีเหลืองข้นเป็นก้อนที่ปลายยอด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพะเมล็ด เจริญเติบโตได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวัน สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าผสมผลัดใบ และตามป่าเต็งรัง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-400 เมตร


ต้นมะม่วง
มะม่วง เป็นไม้ยืนต้นในตระกูล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์Anacardiaceae ชื่อวิทยาศาสตร์Mangifera indicaเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโกเป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเทศ








อ้อยช้าง
ชื่อท้องถิ่น: ต้นอ้อยช้าง
ชื่อสามัญ: อ้อยช้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Albizia myriophylla Benth
ชื่อวงศ์: FABACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท: ไม้ยืนต้น
ลักษณะพืช: รูปลักษณะ : อ้อยช้าง เป็นไม้เถายืนต้น มีหนามตามลำต้นและกิ่งก้าน ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ยาว 10-15 ซม. โคนก้านใบป่องออก ใบย่อยรูปขอบขนานี่ ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นพู่ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ผลเป็นฝัก สีเหลืองถึงน้ำตาล ตรงที่เป็นเมล็ดจะมีรอยนูนเห็นชัด
สรรพคุณของ อ้อยช้าง : ราก มีรสหวาน ใช้เป็นยาแก้ไอ กระหายน้ำ ยาระบาย ผล ขับเสมหะ เนื้อไม้ มีรสหวาน แก้โรคในคอ แก้ไอขับเสมหะ การศึกษาทางเคมีพบว่า สารที่ให้ความหวาน เป็นน้ำตาลกลูโคสและซูโครส


ต้นปาล์มแวกซ์
ชื่อวิทยาศาสตร์:  Copernicia prunifera (Mill.) H.E.  Moore
ชื่อวงศ์:  Palmae
ชื่อสามัญ:  Carnauba, Wax palm, Caranda palm
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นขนาด 10-40 เซนติเมตร ลำต้นมีกาบใบติดแน่น  มี 2 พันธุ์คือ ปาล์มแวกซ์ผอม และปาล์มแวกซ์อ้วน
    ใบ  ใบเดี่ยว รูปค่อนช้างกลมคล้ายพัด เรียงสลับ กว้างประมาณ 1 เมตร แผ่นใบหนาสีเขียวมีนวลขาวเด่นชัด แตกใบย่อยจักเว้าลึกเกือบถึงสะดือ ก้านใบหนายาวประมาณ1 เมตร มีหนามเเข็งตามขอบก้านใบ
    ดอก  สีขาวนวล ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาวประมาณ 2 เมตร
    ฝัก/ผล  ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว  ทรงกลมรี ขนาด 1.5 เซนติเมตร ผิวเรียบเกลี้ยง
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  บราซิล  






เข็มสามสี
        เป็นพรรณไม้ต่างตระกูลกับต้นเข็มที่เราเห็นทั่วไป ออกแนวใช้ประโยชน์จากใบ เพราะแต่ละใบมี 3 สีโดดเด่น จึงนิยมนำมาใช้งานด้านภูมิทัศน์ อาทิ ปลูกประดับสวนหย่อม ปลูกริมทะเล สระว่ายน้ำ สวยงามทีเดียว และเป็นไม้พุ่ม ต้นสูงราว 2 เมตร มีขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อน แตกกิ่งก้านตามข้อของต้น ทำให้มีรูปทรงพุ่มสวยใบเป็นใบเดี่ยวออกเวียนสลับตามปลายกิ่ง เรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มกิ่ง ปลายใบแหลม ขอบเรียบ มีสามสีเป็นแถบไปตามความยาวของใบ สีแดงอยู่ด้านนอก ตามด้วยสีครีม สีเขียวอยู่กลางใบดอกสีขาวอมเขียว มีกลิ่นหอมตอนกลางคืน ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงผลทรงกลมรี สีเหลือง ส้ม หรือแดง เมล็ดสีขาวถึงน้ำตาล มี 1-3 เมล็ด

การเป็นมงคลคนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกเข็มไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีความฉลาดเฉียบแหลม เพราะเข็มคือสิ่งที่มึความแหลมคมเพื่อจะได้เป็นนักปราชญ์ที่มีสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลมเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

ประโยชน์นิยมใช้เป็นไม้ประดับภายนอก โดยเฉพาะการตกแต่งสวน



ต้นมะปราง
มะปราง เป็นชื่อของผลไม้เมืองร้อนชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Anacardiaceae (วงศ์เดียวกับ มะม่วง มะกอก ฯลฯ) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มะปรางมีทรงต้นค่อนข้างแหลม มีใบมาก ไม่มีผลัดใบนอก กิ่งก้านแตกแขนงจนทึบ รากแก้วค่อนข้างแข็งแรงมากจึงสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี ดอกออกเป็นช่อและก็มีสีเหลืองเมื่อบาน ผลของมะปรางจะมีขนาดพอๆ กับไข่ของนกพิราบและก็มีสีเหลืองหรือสีเหลืองอมส้มเวลาสุก









หมากผู้หมากเมีย
ชื่อสามัญ Cordyline[3], Ti plant[5], Dracaena Palm

หมากผู้หมากเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyline fruticosa A. Cheval, Cordyline fruticosa (L.) A. Cheval, Cordyline fruticosa (L.) Goeppert

จัดอยู่ในวงศ์ AGAVACEAE

     สมุนไพรหมากผู้หมากเมีย ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า ปูหมาก (เชียงใหม่), หมากผู้ (ภาคเหนือ), มะผู้มะเมีย (ภาคกลาง), ทิฉิ่ว ทิฉิ่วเฮียะ (จีนแต้จิ๋ว), เที่ยซู่ (จีนกลาง) เป็นต้น
หมากผู้หมากเมียมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เนื่องจากมีการผสมพันธุ์จนได้ชนิดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนยากที่จะทรายว่าต้นใดเป็นต้นพ่อต้นแม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ลูกผสมของ C.terminalis เช่น พันธุ์เพชรชมพู เพชรสายรุ้ง เพชรพนมรุ้ง เพชรประกายรุ้ง เพชรเจ็ดสี เพชรดารา เพชรน้ำหนึ่ง เพรชไพลิน เพชรไพลินกลาย เพชรตาแมว เพชรอินทรา เพชรเขื่อนขันธุ์ เพชรไพฑูรย์ เพียงเพชร พุ่มเพชร เปลวสุริยา รัศมีเพชร รุ้งเพชร ชมพูศรี ชมพูพาน สไบทอง ไก่เยาวลักษณ์ พันธุ์แคระ เป็นต้น

ลักษณะของหมากผู้หมากเมีย
       ต้นหมากผู้หมากเมีย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลักษณะของลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่มีกิ่งก้านสาขามากนัก จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยการตอน การปักชำลำต้น การปักชำยอด การปักชำเหง้า และการแยกลำต้น เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกประเภท ชอบดินร่วนซุย ความชื้นปานกลาง และแสงแดดปานกลางถึงรำไร มักขึ้นใกล้แหล่งน้ำ ที่มีความชุ่มชื้น หรือใต้ต้นไม้ใหญ่ที่มีแสงแดดรำไร


ต้นประดู่กิ่งอ่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์            Plerocarpus Indicus

ชื่อวงศ์                      FABACEAE
ชื่อสามัญ                   Padauk
ชื่ออื่นๆ    Burmese Rosewood, ประดู่ , ดู่บ้าน , สะโน (ภาคใต้)
ถิ่นกำเนิด                   ประเทศอินเดีย
การขยายพันธุ์             เพาะเมล็ด
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
ประดู่เป็นพรรณไม้ของอินเดีย      ชอบแสงแดดจัดดังนั้นจึงเห็นปลูกกันตามริมถนนใน กทม. ทั่วไป

การค้นพบ
ประดู่ พบในป่าเขตร้อนของประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย และ อินเดีย แถบทวีปอาปริกา
และอเมริกาในที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายกับเอเซียเป็นพันธุ์ไม้ที่เกิดในที่มีการระบายน้ำดี ในพื้นที่ดินร่วนปนทราย และเป็นพื้นที่ราบ
หรือเนินเขาไม่สูงมากนัก การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติเกิดขึ้นได้ดีในพื้นที่ค่อนข้าง แห้งแล้ง และเปิดโล่ง ในประเทศไทยไม้
ประดู่ป่าขึ้นอยู่ในป่าเบญพรรณ และป่าเต็งรัง ทางภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย
ยกเว้นภาค ใต้ พื้นที่ที่พบจะสูงจากระดับน้ำทะเล 300 - 600 เมตร โดยทั่วไปจะพบขึ้นปนกับ พันธุ์ไม้ต่าง ๆ มี
ไม้สัก แดง มะค่าโมง กระพี้เขาควาย ชิงชัน รกฟ้า สมอไทย และ สีเสียดแก่น เป็นต้น






เฟิร์นข้าหลวงหลังลาย หรือ เฟิร์นข้าหลวง

ชื่อสามัญ                 Bird’s nest fern

ชื่อวิทยาศาสตร์        Asplenium nidus

ตระกูล                     POLYPODIACEAE

ถิ่นกำเนิด                เกิดอยู่ทั่วไปในแถบที่มีอากาศร้อน และอบอุ่น เช่น เอเซีย ออสเตรเลีย

ลักษณะทั่วไป

   เฟิร์นชนิดนี้ ฝรั่งเรียกว่า “Bird’s nest fern” ชอบอาศัยอยู่ตามคาคบไม้ใหญ่ในเขตอบอุ่นที่มีความชื้นสูง ถือว่าเป็นลักษณะของกาฝาก ใบของเฟิร์นข้าหลวง จะมีสีเขียวอ่อน ขอบใบหยักเป็นคลื่น ก้านใบจะมีสีน้ำตาลเข้ม การเรียงตัวของใบจะเรียงตัวแบบเกลียวคล้ายดอกกุหลาบ ใบที่เกิดใหม่จะอ่อนและเปราะหักได้ง่ายแต่พอเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีความเหนียวและหนามาก เมื่อนำมาปลูกภายในอาคารบ้านเรือนจะต้องคอยทำความสะอาดเช็ดถูสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองออกจากใบบ้าง เดือนละครั้งก็ยังดี เฟิร์นข้าหลวงเป็นพืชที่ชอบความชื้นสูงถ้าอากาศแห้งแล้งควรฉีดสเปรย์ให้ใบของมันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเพราะการฉีดละอองน้ำจะทำให้ใบของมันสดชื่นอยู่ตลอด