วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557








คํามอกหลวง
 ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia sootepensis Hutch.
จัดอยู่ในวงศ์ RUBIACEAE
คำมอกหลวง ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า แสลงหอมไก๋ หอมไก๋ (ลำปาง), ไข่เน่า (นครพนม), ผ่าด้าม ยางมอกใหญ่ (นครราชสีมา), คำมอกช้าง (ภาคเหนือ), ไม้มะไขมอก (คนเมือง), ซือเก่าพรึ (ม้ง), เบล่เด่อปุดย (ปะหล่อง) เป็นต้น

ลักษณะของคำมอกหลวง
      ต้นคำมอกหลวง หรือ ต้นคำมองช้าง มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยที่ดอยสุเทพ[5] สามารถพบได้ตั้งแต่พม่า ไทยและลาว ในประเทศไทยจะพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[6] โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กผลัดใบในช่วงสั้นๆ ก่อนออกดอก ลำต้นมีความสูงของต้นประมาณ 7-15 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มกลมและโปร่ง เรือนยอดโปร่ง ลำต้นมักคดงอ แตกกิ่งน้อย (บ้างว่าแตกกิ่งก้านแผ่กว้าง) กิ่งอ่อนมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีขน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีครีมอ่อนหรือสีเทาถึงสีเทาเข้ม แตกเป็นสะเก็ด หลุดออกมาเป็นแผ่นบางๆ และมียางเหนียวสีเหลืองข้นเป็นก้อนที่ปลายยอด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพะเมล็ด เจริญเติบโตได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวัน สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าผสมผลัดใบ และตามป่าเต็งรัง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-400 เมตร

ไม่มีความคิดเห็น: