เล็บครุฑมีหลายชนิด ได้แก่ ครุฑนก ครุฑหงอนไก่ ครุฑใบมะตูม มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Polyscias balfouriana Bailey. ครุฑอีแปะ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Polyscias filicifolia Bailey. ครุฑทอดมัน เล็บครุฑ ครุฑใบเทศ ครุฑผักชี มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Polyscias fruticosa Harms. ครุฑใบใหญ่ ครุฑใหญ่ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Polyscias guilfoylei Bailey. ครุฑทองคำ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Polyscias pinnata Forst. (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 401) ต้น ลำต้นอาจสูง 2.5 เมตร ลำต้นส่วนยอดสีเขียวอมน้ำตาลเกือบดำ มีกระสีน้ำตาลอ่อนตามกิ่งมีรูอากาศเห็นได้ชัด ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ติดกับกิ่งแบบบันไดเวียนความยาวของใบแตกต่างกัน ใบย่อยมีรูปร่างและขนาดต่างๆ กัน รูปขอบขนานรูปหอกแคบกว้าง 0.5-4 เซนติเมตร ยาว 1-12 เซนติเมตร ขอบใบหยักลึกแบบฟันเลื่อย หยักแบนขนนก ปลายใบเสี้ยวแหลม กมโดนใบแหลมตัดตรง เว้าเป็นรูปหัวใจเส้นกลางใบและส้นใบเห็นชัด ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบผสม มีแกนกลางช่อยาว 60 เซนติเมตร มีกิ่งแตกออกจากแกนกลางยาว 30 เซนติเมตร ดอกติดเป็นกระจุก ๆ แบบดอกผักชีกระจุกละ 12.20 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน รูปลูกข่าง ผล ผลรูปเกือบกลม มีเนื้อ เมื่อแห้ง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 205)
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น