หมากผู้หมากเมีย
ชื่อสามัญ Cordyline[3], Ti plant[5], Dracaena Palmหมากผู้หมากเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyline fruticosa A. Cheval, Cordyline fruticosa (L.) A. Cheval, Cordyline fruticosa (L.) Goeppert
จัดอยู่ในวงศ์ AGAVACEAE
สมุนไพรหมากผู้หมากเมีย ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า ปูหมาก (เชียงใหม่), หมากผู้ (ภาคเหนือ), มะผู้มะเมีย (ภาคกลาง), ทิฉิ่ว ทิฉิ่วเฮียะ (จีนแต้จิ๋ว), เที่ยซู่ (จีนกลาง) เป็นต้น
หมากผู้หมากเมียมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เนื่องจากมีการผสมพันธุ์จนได้ชนิดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนยากที่จะทรายว่าต้นใดเป็นต้นพ่อต้นแม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ลูกผสมของ C.terminalis เช่น พันธุ์เพชรชมพู เพชรสายรุ้ง เพชรพนมรุ้ง เพชรประกายรุ้ง เพชรเจ็ดสี เพชรดารา เพชรน้ำหนึ่ง เพรชไพลิน เพชรไพลินกลาย เพชรตาแมว เพชรอินทรา เพชรเขื่อนขันธุ์ เพชรไพฑูรย์ เพียงเพชร พุ่มเพชร เปลวสุริยา รัศมีเพชร รุ้งเพชร ชมพูศรี ชมพูพาน สไบทอง ไก่เยาวลักษณ์ พันธุ์แคระ เป็นต้น
ลักษณะของหมากผู้หมากเมีย
ต้นหมากผู้หมากเมีย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลักษณะของลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่มีกิ่งก้านสาขามากนัก จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยการตอน การปักชำลำต้น การปักชำยอด การปักชำเหง้า และการแยกลำต้น เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกประเภท ชอบดินร่วนซุย ความชื้นปานกลาง และแสงแดดปานกลางถึงรำไร มักขึ้นใกล้แหล่งน้ำ ที่มีความชุ่มชื้น หรือใต้ต้นไม้ใหญ่ที่มีแสงแดดรำไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น