วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557





ต้นชวนชม
ชื่อสามัญ                    Impala Lily Adenium
ชื่อวิทยาศาสตร์          Adenium obesum.
ตระกูล                       APOCYNACEAE
ลักษณะทั่วไป 
ชวนชมเป็นพรรณไม้ยืนต้นอวบน้ำขนาดเล็กลำต้นมีความสูงประมาณ1-3เมตรลำต้นอวบน้ำผิวเปลือกสีเขียวปนขาวผิวเรียบเป็นมัน ลำต้นมียางลำต้นบิดงอไปตามจังหวะแตกกิ่งก้านสาขาน้อยรูปทรงโปร่งใบแตกออกตามปลายของกิ่งก้านใบมนรี ปลายใบมน โคนใบสอบเรียว กลางใบมีเส้นสีขาวมองได้ชัด ตัวใบแข็ง ผิวเป็นมันเรียบมีสีเขียวดอกออกตรงปลายยอดของก้านดอกเป็นรูปแตร มีกลีบดอก กลีบ มีสีชมพูโคนกลีบดอกมีฐานรองดอกเป็นแฉกเล็กๆ สีเขียว ดอกบานมีความกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ เซนติเมตร
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นชวนชมไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดการชวนชม นิยมชมชอบ เพราะชวนชมเป็นไม้มงคลนาม และยังทำให้เกิดแสน่ห์แห่งการดึงดูดตา ดึงดูดใจ ชวนมองยิ่งนัก
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นชวนชมไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ
การปลูก
การปลูกแบ่งเป็น วิธี
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงและขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ขุยมะพร้าว : ดินร่วน อัตรา  1 : 1 : 1ผสมดินปลูก เพื่อความสวยงามของทรงพุ่มควรดูแลตัดกิ่งให้เหมาะสม และควรเปลี่ยนกระถาง 1-2 ปี/ครั้ง เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไป
2. การปลูกในแปลงปลูกประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก  30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก แต่ที่เหมาะสมควรปลูกประดับบริเวณสวนนิยมปลูกเป็นกลุ่มจะให้ดอกที่สวยงามเด่นชัดขึ้น
การดูแลรักษา
แสง                           ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง น้ำ                             ต้องการปริมาณน้ำน้อย ทนต่อความแห้งแล้งให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้งดิน                            ดินร่วนซุย
ปุ๋ย                             ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้การขยายพันธุ์             การปักชำ การตอน โรคและศัตรู               ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะเป็นไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพธรรมชาติได้ดี




ต้นสาละลังกา
ต้นลูกปืนใหญ่ หรือ ต้นสาละลังกา หรือต้นแคนนอนบอล (Cannon-ball Tree) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "Couroupita guianensis Aubl." เป็นพืชอยู่ในวงศ์จิก วงศ์ Lecythidaceae (ปัจจุบัน จิกอยู่ในวงศ์ Barringtoniaceae)
ต้นลูกปืนใหญ่ หรือ สาละลังกา มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศ Guiana และประเทศอื่นๆ ในแถบทวีปเอเมริกาใต้ โดยเฉพาะที่ราบลุ่มแม่น้ำอเมซอน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในประเทศเขตร้อน โดยเฉพาะในสวนพฤกษศาสตร์
เป็นพันธุ์ไม้นำมาจากประเทศคิวบา ศรีลังกาได้นำมาปลูกประมาณปี พ.ศ.2422 ส่วนประเทศไทยปลูกเมื่อปี พ.ศ.2500 เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง 15-25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสะเก็ด ใบเดี่ยวออกเวียนสลับตามปลายกิ่งรูปใบหอกกลับ กว้าง 5-8 ซม. ยาว 15-30 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ มน ขอบใบจักตื้นๆ


ต้นสะเดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Valeton
ชื่อสามัญ : Siamese neem tree, Nim , Margosa, Quinine
วงศ์ : Meliaceae
ชื่ออื่น : สะเลียม (ภาคเหนือ) กะเดา (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล รูปทรงรี ขนาด 0.8 - 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี
ส่วนที่ใช้ : ดอกช่อดอก ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด
สรรพคุณ :
ดอก ยอดอ่อน - แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี
ขนอ่อน - ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
เปลือกต้น - แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด
ก้านใบ - แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย
กระพี้ - แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
ยาง - ดับพิษร้อน
แก่น - แก้อาเจียน ขับเสมหะ
ราก - แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก
ใบ,ผล - ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ
ผล มีสารรสขม - ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ
เปลือกราก - เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง
น้ำมันจากเมล็ด - ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง






ต้นเข็มเชี่ยงใหม่
ชื่อวิทยาศาสตร์:  Ixora chinensis Lamk. Ixora spp.
ชื่อวงศ์:  RUBIACEAE
ชื่อสามัญ:  West Indian Jasmine
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดย่อม ลำต้นสูงประมาณ 3–5 ฟุต จะแตกกิ่งก้านสาขาออกแผ่เป็นพุ่ม ลำต้นเป็นต้นเดี่ยวหรือแตกกอแผ่สาขาออกไปเป็นต้นต้นเล็กกลมขนาดเส้นรอบวงประมาณ 4-10 เซนติเมตรลำต้นเรียบสีน้ำตาลกิ่งยอดมีสีเขียวแตกกิ่งตรงขึ้นด้านบน
    ใบ  ใบของดอกเข็มแข็ง และเปราะง่าย มีสีเขียวสด ลักษณะใบมนรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบจะออกเรียงสลับกันคนละทิศทาง ลักษณะใบมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์
    ดอก  ดอกออกเป็นช่อใหญ่ จะออกตรงส่วนยอดของต้น ในแต่ละช่อจะประกอบด้วยดอกขนาดเล็กเป็นหลอด ตรงปลายหลอดจะเป็นกลีบซึ่งมีอยู่ 4-5 กลีบ ปลายกลีบแหลม ลักษณะดอกและสีสรรแตกต่างกันไป
    ฝัก/ผล  เป็นผลกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ  
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี
การปลูก:
    -    การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน
    -    การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนนิยมปลูกเป็นกลุ่มตกแต่งสวนบริเวณบ้านหรือปลูกเป็นแนวรั้วก็ได้ สามารถตัดแต่ง และบังคับรูปทรงได้ตามความเหมาะสม และความต้องการของผู้ปลูก
การดูแลรักษา:  ชอบอยู่กลางแจ้ง ขึ้นได้กับดินทุกชนิดแต่จะชอบดินที่ร่วนซุยมากกว่า มีความชุ่มชื้นพอดี ทนทานต่อความแห้งแล้ง
การขยายพันธุ์:  ปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด กิ่งตอน
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สรรพคุณทางยา:
    -    รากมีรสหวานใช้รับประทานแก้โรคตา เจริญอาหาร 
    -    ใบใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ 
    -    ดอกแก้โรคตาแดง ตาแฉะ 
    -    ผลแก้โรคริดสีดวงในจมูก



ต้นปาล์มขวด
ชื่อสามัญ               Royal palm
ชื่อวิทยาศาสตร์      Roystonea reqia
วงศ์                       PALMAE
ถิ่นกำเนิด                คิวบา (ปาล์มขวดเป็นต้นไม้ ประจำชาติของประเทศคิวบา)
ลักษณะโดยทั่วไป
          ลักษณะทั่วไป ปาล์มขวดนี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือ ตอนที่ยังเล็กอยู่จะป่องพองออกบริเวณโคนต้น แต่พอโตขึ้นอาการป่องพองนี้ก็จะไปเกิดที่กลางลำต้น โตเต็มที่

ลำต้นสูงประมาณ 20 เมตร ใบยาว 3-5 เมตร ทางใบสั้น ใบย่อยจะงอกออกจากแกนกลางใบเป็นแถว มีกาบใบสีเขียวเรียบเป็นมัน ห่อลำต้นไว้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามขอบถนนหรือปลูกในสนามหญ้าก็ได้

การขยายพันธุ์
          โดยการเพาะเมล็ดเพราะว่าปาล์มขวดไม่มีหน่อ
 


ชื่อพื้นเมือง     หมากเหลือง 
ชื่อวิทยาศาสตร์   Chrysalidocarpus   lutescens  H. Wendl.   
  • ชื่อวงศ์    PALMAE
ชื่อสามัญ  Yallow   plam,     Areca   plam,    Butterfly   plam,    Hawaiian  
bamboo  plam,
การกระจายพันธุ์  ถิ่นกำเนิดอยู่ในเกาะมาดากัสก้า 
การขยายพันธุ์   ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและแยกหน่อ  ชอบแดดจัด ต้องการ
น้ำมาก  ปลูกได้ในดินทุกชนิด  ทั้งในกระถางและลงดิน 
ลักษณะ    :  ต้น เป็นไม้ยืนต้นประเภทหมากหรือปาล์มที่มีหน่อ  ลำต้นแตกออกเป็น
กอ  กอหนึ่งๆ  มีประมาณ 6-12 ต้น ตามลำต้นจะเป็นข้อปล้อง และโค้งงอออกจากโคน
กอ สูง 25-30 ฟุต
ใบ ใบมีลักษณะแบบขนนก  เหมือนใบมะพร้าว มีสีเขียว  ทางใบจะแข็งและโค้งงอ 
ยาว 6-8 ฟุต  โคนก้านใบมีลักษณะเป็นกาบห่อหุ้มลำต้นอยู่ 
ดอก   ออกดอกเป็นช่ออยู่ใต้กาบใบ  ลักษณะของช่อดอกคล้ายจั่นหมาก  ช่อดอกเป็น
จั่นสีเหลืองอ่อน   ดอกมีขนาดเล็กสีขาวเหลือง  
ผล   ผลมีขนาดเล็กออกเป็นพวงตามลักษณะช่อดอก  ผลอ่อนสีเขียว  ผลแก่สีเหลือง  
เมื่อสุกเป็นสีแดงแสด 
เมล็ด     เมล็ดในผลมีรูปกลม  ผลหนึ่งจะมีเมล็ดอยู่ภายในหนึ่งเมล็ด 
ประโยชน์ 
ข้อมูลจากเอกสาร  ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง เพราะมีลักษณะกอหรือทรวดทรงท
ี่งดงามมากและขนาดกอพอสมควรไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป  
ข้อมูลพื้นบ้าน   นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเช่นบริเวณสวนหย่อม  ริมสนามหญ้า 
เพราะมีลักษณะทรวดทรงของกอที่สวยงาม   ทางใบของหมากเหลืองสามารถนำมา
ใช้เป็นใบประดับในการจัดช่อดอกไม้ขนาดใหญ่ได้



ศรีตรัง


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jacaranda filicifolia        (Anderson) D.Don

วงศ์ :  BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ :  Jacaranda
ชื่ออื่น :  แคฝอย (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง เปลือกสีน้ำตาลอมขาว แตกล่อนเป็นแผ่นบางตามยาวคล้ายกระดาษ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงตรงกันข้าม ใบย่อย 12-21 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปขอบขนานแกมรูปเหลี่ยมข้าวหลามตัด มีขนาดเล็ก กว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบหลักยาว 7-11 ซม. ก้านใบประกอบยาว 4-8 มม. ไม่มีก้านใบย่อย ดอก สีม่วงอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อน ออกเป็นช่อแบบกระจุกแยกแขนงตามกิ่งและซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 5-9 ซม. กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีม่วงเข้มปลายแยก 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2.5 ซม. ผลแห้งแตกเป็นฝักสีน้ำตาลอ่อน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2.2-2.5 ซม. เมล็ดมีปีกจำนวนมาก

          ศรีตรัง มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ จะออกดอกประมาณเดือน มกราคม-มีนาคม  เป็นผลประมาณเดือน เมษายน-พฤษภาคม






ชำมะเลียง

ชำมะเลียง ชื่อสามัญ Luna nut หรือ Chammaliang
ชำมะเลียง ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepisanthes fruticosa Leenh. หรือ Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh. จัดอยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE
สมุนไพรชำมะเลียง ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า โคมเรียง (ตราด), พูเวียง (นครราชสีมา), มะเถ้า ผักเต้า (ภาคเหนือ), หวดข้าใหญ่ ภูเวียง (ภาคอีสาน), ชำมะเลียง ชำมะเลียงบ้าน พุมเรียง พุมเรียงสวน (ภาคกลาง) เป็นต้น








สายหยุด

สายหยุด ชื่อสามัญ Chinese Desmos, Desmos
สายหยุด ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmos chinensis Lour. จัดอยู่ในวงศ์ ANNONACEAE
สมุนไพรสายหยุด ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า เครือเขาแกลบ (เลย), กล้วยเครือ (สระบุรี), เสลาเพชร (สุราษฎร์ธานี), สาวหยุด (ภาคกลาง, ภาคใต้) เป็นต้น
หมายเหตุ : ต้นสายหยุดและต้นการเวกจะมีลักษณะของดอกที่คล้ายคลึงกัน แต่ดอกของสายหยุดจะมีลักษณะเป็นกลีบยาวและบิดเป็นเกลียว ในขณะที่ดอกของการเวกจะมีเนื้อกลีบที่หนากว่าและไม่บิดเป็นเกลียวเหมือนดอกสายหยุด



ต้นตาล
ตาล ภาษาอังกฤษ Asian Palmyra palm, Palmyra palm, Brab palm, Doub palm, Fan palm, Lontar palm, Toddy palm, Tala palm, Wine palm ตาล ชื่อวิทยาศาสตร์ Borassus flabellifer L. จัดอยู่ในวงศ์ ARECACEAE หรือในชื่อเดิมคือ PALMAE เช่นเดียวกับตาว จาก ลาน หวาย และมะพร้าว และต้นตาลมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น ตาลนา ปลีตาล (เชียงใหม่), ตาล ตาลใหญ่ ตาลโตนด (ภาคกลาง), โหนด ลูกโนด(ภาคใต้), ถาล (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ถาน (ชาน-แม่ฮ่องสอน), ทอถู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ท้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ตะนอด (เขมร), ทะเนาด์ (เขมร-พระตะบอง) เป็นต้น
ต้นตาล จัดเป็นพืชดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา และภายหลังได้ขยายแพร่พันธุ์ไปเรื่อยๆ จนมีอยู่ทั่วไปในเอเชียเขตร้อนรวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งพบทั่วไปของทุกภาคของประเทศ และสามารถได้มากในภาคตะวันตก ในจังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา และนครปฐม
ประโยชน์ของต้นตาลหลักๆ แล้วจะนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารและใช้ในงานหัตถกรรมต่างๆ และอาจมีการนำไปใช้ทางยาสมุนไพรบ้าง โดยต้นตาลนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์หลักๆ ได้แก่


ต้นทองอุไร

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Tecoma stans (L.) Kunth

ชื่อวงศ์:  Bignoniaceae
ชื่อสามัญ:  Yellow elder, Yellow bells, Trumpet vine
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มชนาดกลาง  ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมถึงรูปไข่ ทรงพุ่มโปร่ง  ลำต้นตั้งตรง
    ใบ  ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น กว้าง 14-16 เซนติเมตร  ยาว 20-23 เซนติเมตร ใบย่อย 5-11 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอกหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร  ยาว 5-6 เซนติเมตร  ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ  ขอบใบจักฟันซี่  แผ่นใบบาง ผิวใบด้านบนสีเขียวสด  ก้านใบยาว  9-12 เซนติเมตร
    ดอก  สีเหลืองสด ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 7-11 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกันปลายแยก 5 แฉก ปลายแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายเเยกเป็น 5 แฉก คล้ายรูปแตร ดอกร่วงง่าย
    ฝัก/ผล  ผลแห้งแตก  เป็นฝักกลม  เรียวเล็ก  ยาว 12-14 เซนติเมตร
    เมล็ด  เมล็ดแบนบาง  สีน้ำตาลอ่อนมีปีก
ฤดูกาลออกดอก:  กรกฎาคม-กันยายน
การปลูก:  ปลูกประดับสวน
การดูแลรักษา:  ดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกากลางและใต้ หมู่เกาะอินดีสตะวันตก
แหล่งที่พบ:  พบได้ทั่วทุกภาค