วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557



เข็มเศรษฐี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ixora macrothyrsa Teijsm. et Binn.

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ชื่ออื่น : เข็มแดง



รูปลักษณะ : เข็มเศรษฐี เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6- 9 ซม. ยาว 15-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงเข้ม เชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ผลสด เมื่อสุกสีม่วงแดง



สรรพคุณของ เข็มเศรษฐี : ราก, ดอก แก้บิด

อินทนิลบก 
ชื่อพื้นเมือง : อินทนิลบก (กลาง) ; กากะเลา (อุบลราชธานี) ; กาเสลา (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ; จ้อล่อ ,จะล่อ จะล่อหูกวาง (เหนือ) ; ปะหน่าฮอ , ซีมุง (แม่ฮ่องสอน) 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia macrocarpa Wall. 
ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE 
ลักษณะพืช 
ต้น : ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงได้เอง ผิวแตกเป็นเส้น เห็นข้อปล้อง สีน้ำตาลไหม้ ไม่มียาง 
ใบ : ใบเดี่ยวเรียงสลับ สีเขียว เห็นลายเส้นชัดเจน รูปรี ปลายใบแหลมติ่ง โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ 
ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด มีสีม่วงแกมขาว กลีบเลี้ยงติดกัน กลีบดอกแยกกัน 6 กลีบ 
ผล : ผลเดี่ยว เมื่อแก่แล้วจะแตก สีเขียวแกมเทา และสีน้ำตาลไหม้ กลมรี รับประทานไม่ได้ 
เมล็ด : ในผลหนึ่งมี 6 เมล็ด 
การกระจายพันธุ์ 
ถิ่นกำเนิดอินเดีย ขึ้นตามป่าผลัดใบ และป่าเบญจพรรณทั่วไป 
การขยายพันธุ์ 
ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด 
ประโยชน์ ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องมือเกษตรกรรม ไม่ใช้ก่อสร้าง 




ต้นชบาด่าง

ชื่อพื้นเมือง :ชบาด่าง
ชื่อสามัญ :Snowflake Hibiscus
ชื่อวิทยาศาสตร์ :HIBISCUS rosa-sinensis "Matensis"
ชื่อวงศ์ :MALVACEAE
ลักษณะทั่วไป :ต้น พุ่มแน่น แตกกิ่งโดยรอบ
ใบ ด่างมีสีขาวประปรายขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย
ดอก ดอกเดี่ยว สีแดงสด อาจมีริ้วสีชมพู
การขยายพันธุ์ :การปักชำ การตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด
ประโยชน์ :ใช้ในการจัดสวน เป็นไม้กระถาง ดอกเป็นไม้ดอกประดับ บางคนใช้ทำอาหาร และอุตสาหกรรม , ยารักษาโรค , การประยุกต์ใช้ในเชิงวิทยาศาสตร




 พลูด่าง

  ชื่อวิทยาศาสตร์: Scindapsus aureus Eagler
  ชื่อวงศ์: ARACEAE
  ชื่อสามัญ: Devil's lvy
  ชื่อท้องถิ่น: ราชินีหินอ่อน
  ลักษณะวิสัย: ไม้ล้มลุก
  ลักษณะทั่วไป: เป็นไม้เลื้อย  ใบกลมขนาดใหญ่  ปลายใบมนแหลม  ฐานใบมนแหลม  ฐานใบมนเว้า  พื้นใบเป็นสีเขียว  มีสีเหลืองด่างเป็นแถบ ๆ ตามแผ่นใบ  ออกใบ
 และรากตามข้อของลำต้นก้านใบยาว  โคนก้านใบแผ่ออกเป็นกาบหุ้มลำต้นตรงข้อ  เป็นพรรณไม้เลื้อยเขตร้อนลำต้นอ่อน  ใบเป็นรูปหัวใจ  สีเหลืองด่าง  สลับสีเขียวอ่อน
จะเลื้อยขึ้นในแนวดิ่งหรือปลูกให้เลื้อยไปตามฝาผนัง  มีรากอากาศ  มีดอกแต่ไม่สวยงาม  จึงนิยมเลี้ยงเป็นไม้ประดับใบ
 การกระจายพันธุ์: เป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดด  ต้องการน้ำปานกลาง  ปลูกในกระถางตั้งหลักยึดปลูกในกระถางแขวนด้วยดินร่วนซุย
หรือจะใส่ขวดน้ำปลูกเลี้ยงก็ได้
  การขยายพันธ์  :  โดยการตัดต้น  หรือยอดมาปักชำ
ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคาร  หรือปลูกเป็นไม้คลุมดิน  หรือพรางสายตาจากสิ่งที่ไม่น่ามอง



                                                    มะขวิด (อังกฤษ: Limonia)
                                        ภาคอีสานเรียกมะยม ภาคเหนือเรียกมะฟิด
                      เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง อยู่ในกลุ่มไม้ยืนต้นผลัดใบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย สูงถึง 12 เมตร กิ่งแขนงมีหนามเรียวแหลมตรง ยาว 4 เซนติเมตร ใบประกอบ แบบขนนกปลายคี่ ใบออกตรงข้าม มี 2-3 คู่ รูปไข่กลับ ยาวถึง 4 ซม. ก้านใบและก้านใบย่อยมีปีกแคบ ๆ ยาวถึง 12 เซนติเมตร มีจุดต่อมน้ำมัน มีกลิ่นอ่อน ๆ เมื่อขยี้ ช่อดอกออกปลายยอดหรือซอกใบ มีทั้งดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศ มี 5 กลีบ สีขาวครีมแกมเขียว ชมพูหรือแดงเรื่อ ๆ อยู่กันหลวม ๆ ผลเปลือกแข็ง รูปกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวเป็นขุยสีออกขาวปนสีชมพู มีเนื้อมาก กลิ่นหอม มีเมือกหุ้มเมล็ด เมล็ดยาว 0.5-0.6 เซนติเมตร เปลือกหนา มีขน


ขานาง (ชื่อวิทยาศาสตร์Homalium tomentosum (Vent.) Benth.) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูง 15 - 30 เมตร เปลือกต้นสีขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลนุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การดูแลรักษา ขานางชอบดินที่มีหินปูนปนอยู่มาก น้ำและความชื้นปานกลาง
ขานางมีชื่อพื้นเมืองอื่น ขางนาง คะนาง (ภาคกลาง), ค่านางโคด (ระยอง), ช้างเผือกหลวง (เชียงใหม่), แซพลู้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปะหง่าง (ราชบุรี), เปลือย (กาญจนบุรี), เปื๋อยคะนาง เปื๋อยนาง (อุตรดิตถ์), เปื๋อยค่างไห้ (ลำปาง), ลิงง้อ (นครราชสีมา)


   ปรงเม็กซิกัน
ชื่อวิทยาศาสตร์: Zamia furfuracea L.f
ชื่อวงศ์: ZAMIACEAE
ชื่อสามัญ: Jamican Sago Tree, Cardboard palm.
ลักษณะวิสัย: ปรง
ลักษณะทั่วไป: เป็นพืชบกเมล็ดเปลือย  แยกเพศต่างต้น  มีลักษณะคล้ายปาล์ม  ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว  ใบย่อยไม่มีเส้นกลางใบ  เส้นใบย่อยจะขนานกัน
ดอก  - Cone เพศเมียจะมีสปอร์โรฟิลล์เวียนสลับ
ต้น  - ลำต้นสั้น ๆ เหมือนปาล์มตรงที่ใบแตกจากส่วนยอดของลำต้น
ประโยชน์: ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสวน  เป็นไม้กระถางมีลักษณะเด่นสะดุดตาอยู่ที่ใบ




คริสติน่า
เป็นไม้พุ่ม ที่เป็นพุ่มจริง ๆ ไม่มีกิ่งก้านยื่นออก
มาเหมือนต้นไม้อื่น นิยมปลูกหลาย ๆ ต้นเป็นแนวดูสวยมาก แต่ที่
บ้านปลูกแค่ต้นเดียว เพราะไม่มีที่ให้อยู่แล้ว ใบอ่อนจะเป็นสีแดง 
สวยดี เคยเห็นที่บ้านคนอื่นปลูกไว้แล้วไม่ได้ตัดแต่ง ต้นสูงถึง ๔ 
เมตร นึกไม่ถึงว่าจะสูงได้ขนาดนั้น ต้นนี้ตัดแต่งทรงพุ่มได้ ไม่ต้อง
ดูแลมาก มีตัวหนอนเจ้าประจำที่ชอบมากิน แต่ไม่ทำให้เกิดความ
เสียหายอะไรแก่ต้นไม้ เพราะใบใหม่จะขึ้นมาเร็วจนหนอนกินไม่ทัน 
ชอบแดดจัด เห็นต้นของบ้านอื่นที่ปลูกไว้กลางแดด พอแตกใบใหม่
จะเห็นใบอ่อนสีแดงคลุมทั้งต้นสวยมาก ต้นที่บ้านได้รับแสงตอนบ่าย
ไม่กี่ชั่วโมง เลยมีใบอ่อนสีแดงแค่ประปราย 




สัก (อังกฤษTeak) ไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สักมักจะได้รับความเข้าใจผิดเสมอว่าเป็นไม้เนื้อแข็งเนื่องจากว่ามันมีลักษณะพิเศษที่เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความทนทานกว่าไม้เนื้อแข็งหลายๆชนิด ชื่อสามัญอื่นอื่น: เซบ่ายี้, ปีฮือ, ปายี้, เป้อยี


ผักโขม (อังกฤษ: Amaranth )
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus lividus 
จัดอยู่ในวงศ์ Amaranthaceae
                                ผักโขมในเมืองไทยมีหลายพันธุ์ สำหรับพันธุ์ที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารคือ ผักโขม ผักโขมหัด ผักโขมหนามและผักโขมสวน ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง เป็นต้น และยังขึ้นเป็นวัชพืชในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน ผักโขมเป็นพืชที่ขึ้นง่ายชาวบ้านจึงมักเก็บมาบริโภคในช่วงหน้าฝน







ชื่อพื้นเมือง : เกด (ภาคกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manilkara hexandra (Roxb.) Dubard

ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE

ชื่อสามัญ : Milkey Tree

ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีน้ำยางขาว สูง 15-25 ม. ลำต้น และกิ่งมักคดงอ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายมนกว้าง และหยักเว้า โคนสอบ ขอบเรียบดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกสั้น ออกตามง่ามใบและเหนือรอยแผลใบ ปลายดอกชี้ลง ดอกสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 6 แฉก เกสรเพศผู้สมบูรณ ์และไม่สมบูรณ์อย่างละ 6 อัน ผลกลมรี ส่วนบนมีก้านเกสรเพศเมียติดค้างอยู่เป็นติ่งแหลม ฐานผลมีกลีบเลี้ยงที่เจริญขึ้นมารองรับ ผลสุกสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อนุ่ม มี 1-2 เมล็ด เมล็ดแข็ง สีน้ำตาลแดงเป็นมัน รูปไข่

ประโยชน์ : เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง แข็ง ทนทาน แต่เลื่อยยาก แตก และบิดง่าย ใช้ทำเครื่องมือเกษตรกรรม เปลือกมีน้ำฝาด ผลสุกกินได้





กล้วยไม้หวาย
Dendrobium Orchid
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrobium
วงศ์ ORCHIDACEAE
     ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกแสงแดด แดดกึ่งรำไรอุณหภูมิ 16–24องศาเซลเซียสความชื้น ต้องการความชื้นสูงน้ำ ต้องการน้ำปานกลางการดูแล หวายชอบแดดกึ่งรำไร ต้องการความชื้นค่อนข้างสูง แต่ไม่แฉะ ระบายอากาศได้ดี หากอยู่ภายนอกควรรดน้ำสม่ำเสมอทุกวัน ภายในอาคารรดน้ำวันเว้นวันก็ได้การปลูก ปลูกลงในวัสดุปลูกที่โปร่ง ระบายอากาศได้ดี เช่น กาบมะพร้าว ถ่าน เม็ดดินเผาการขยายพันธุ์ แยกลำลูกกล้วย ปักชำกิ่งอัตราการคายความชื้น ปานกลางอัตราการดูดสารพิษ ปานกลาง


พิกุล

พิกุล ชื่อสามัญ Asian bulletwood, Bullet wood, Bukal, Tanjong tree, Medlar, Spanish cherry พิกุล ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Mimusops elengi L. var. parvifolia (R. Br.) H.J. Lam, M. parvifolia R. Br.) จัดอยู่ในวงศ์ SAPOTACEAE เช่นเดียวกับม่อนไข่
สมุนไพรพิกุล ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น ซางดง (ลำปาง), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุลป่า(สตูล), แก้ว (ภาคเหนือ), กุน (ภาคใต้), ไกรทอง, ตันหยง, มะเมา, พกุล, พิกุลทอง เป็นต้น  โดยมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า อินโดจีน และในหมู่เกาะอันดามัน มีการเพาะปลูกมากในมาเลเซีย เกาะโซโลมอน นิวคารีโดเนีย วานุอาตู และออสเตรเลียทางตอนเหนือ รวมไปถึงเขตร้อนทั่วๆ ไป


                                            ลิ้นมังกร (ชื่อวิทยาศาสตร์:Sansevieria spp.
เป็นพืชใบประดับ มีถิ่นกำเนิดในภูมิประเทศเขตร้อนแห้งแล้ง
             ลิ้นมังกรเป็นพรรณไม้ ที่มีลำต้นเป็นหัว หรือเหง้าอยู่ในดิน ลักษณะลำต้นเป็นข้อ ๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออมาพ้นดินเป็นกอ ใบยาวปลายแหลม แข็งเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อย ขอบใบมีสีเหลืองกลางใบสีเขียวอ่อน ประด้วยเส้นสีเขียวเข้ม ขนาดของใบกว้างปรมาณ 4-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านดอกประกอบด้วยกลุ่มดอกป็นชั้น ๆ ลักษณะดอกมีขนาดเล็ก ออเรียงกันเป็นแนวตามชั้นของก้านดอกดอกมีสีขาวมีกลีบประมาณ 5 กลีบ นาดดอกบานเต็มที่ 2 เซนติเมตร ลักษณะขนาดใบ และสีสัน จะแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์



มะเฟือง
 ชื่อวิทยาศาสตร์: Averrhoa carambola L.;

 ชื่อสามัญ: Carambola
 เป็นไม้ต้นพื้นเมืองของอินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา และเป็นที่นิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย มาเลเซีย และบางส่วนของเอเชียตะวันออก รวมทั้งมีเพาะปลูกในสาธารณรัฐโดมินิกัน บราซิล เปรู กานา Guyana ซามัว ตองกาไต้หวัน French Polynesia คอสตาริกา และ ออสเตรเลีย ในสหรัฐอเมริกามีแหล่งเพาะปลูกเชิงพาณิชย์อยู่มะเฟืองเป็น ไม้ผลยืนต้นขนาดกลาง ลักษณะเป็นทรงพุ่ม ซึ่งมีทั้งลักษณะตั้งตรง และกึ่งเลื้อย ลำต้นและกิ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน แกนกลางมีไส้คล้ายฟองน้ำมีสีแดงอ่อน ใบประกอบสีเขียว ประกอบด้วยใบย่อย 5-11 ใบ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง และตาข้างตามกิ่งและลำต้น มีดอกสีชมพูอ่อนไปจนถึงเกือบแดง ผลมีก้นแหลมเป็นเหลี่ยมมีร่องลักษณะเป็นพูประมาณ 4-6 พู



                               พะยอม 
เป็นไม้ยืนต้นประเภทพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae พบได้ในกัมพูชา, อินเดีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ไทย, และ เวียดนาม มีลักษณะใบที่เรียงสลับกัน ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม นิยมนำเนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้าง ลักษณะคล้ายกับต้นตะเคียน
พะยอมมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ กะยอม (เชียงใหม่) ชะยอม (ลาว)กะยอม (อีสาน) ขะยอมดงพะยอมดง (ภาคเหนือ) แคน (ร้อยเอ็ด) เชียง เชี่ยว (กะเหรี่ยง – เชียงใหม่ ) พะยอม (ภาคกลาง) พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี – ปราจีนบุรี) ยางหยวก (น่าน)


           ไทรย้อยใบทู่ หรือ ไทรย้อย 
           อังกฤษChinese banyan, Malayan banyanจีน細葉榕
          ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus microcarpa) เป็นไม้ประเภทบันยันในสกุล Ficus ในวงศ์ Moraceae
เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 12-25 เมตร และสูงได้ถึง 30 เมตร บางครั้งอาจรอเลื้อยกับพื้นดินหรือกึ่งอาศัยกับไม้อื่น ๆ มีรากอากาศอยู่ตามกิ่งไม้เป็นเส้นเรียงยาวจำนวนมาก เปลือกมีสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบเวียน มีลักษณะรูปไข่หรือรูปวงรี ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเป็นติ่งทู่เกือบแหลม หรือเป็นติ่งสั้น และเรียวแหลม ไม่ค่อยพบแบบเว้า ฐานใบสอบรูปลิ่ม ขอบใบเรียว ผิวใบมัน เนื้อใบบางเหนียวคล้ายผิวหนัง ออกดอกตามง่ามใบ เป็นดอกเดี่ยวหรือน้อยมากที่จะเป็นดอกคู่ ตาดอกสีแดงแกมชมพู ก้านดอกยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงรูประฆัง จำนวน 6 กลีบ ยาว 3-7 กลีบ กลีบดอกแบบอิสระ 6 กลีบ รูปไข่มน ยาว 3-8 มิลลิเมตร มีลักษณะย่น เกสรตัวผู้ 12 อัน ขดเป็นวง ผลเป็นรูปไข่กลับหรือกระสวยรี มีกลีบเลี้ยงเป็นท่อหุ้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-10 มิลลิเมตร ผลเกลี้ยง ผลแก่แตกออก มีเมล็ดจำนวนมาก มีปีกยาว รูปลิ่มแกมไข่กลับ
มีการกระจายพันธุ์ที่กว้าง โดยพบได้ที่ปากีสถานอินเดียเนปาลศรีลังกาจีนตอนใต้, ญี่ปุ่นไต้หวันพม่า, ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย จนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ขึ้นกระจายในป่าดิบแล้ง, ป่าดิบชื้น และป่าเบญจพรรณ บางครั้งพบตามป่าเสื่อมโทรม, ชายทะเล, ป่าชายเลน หรือเขาหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล



                                                               เทียนหยด
                             ชื่อวิทยาศาสตร์: Duranta repens L.; Duranta erecta L.
                             ชื่อสามัญ: Sky flower; Golden dew drop; Pigeon berry; Duranta
                             ชื่อวงศ์: VERBENACEAE) 
 มีชื่อพื้นเมืองหลายชื่อ ได้แก่ เครือ (แพร่) ; พวงม่วง; ฟองสมุทร; เทียนไข (กรุงเทพฯ) ; สาวบ่อลด (เชียงใหม่)
เป็นไม้พุ่มใบเป็นใบเดี่ยวรูปมนรีเรียว สอบไปทางปลาย ขอบใบเป็นหยักห่างๆออกดอกเป็นช่อห้อยตามปลายยอด ดอกมีสีม่วงมีกลีบดอก 5 กลีบ สามารถติดผลเป็นเม็ดกลมขนาดเล็กสีเหลืองคล้ายหยดเทียน ใช้ในการปลูกประดับทั่วไป
เทียนหยดเป็นพืชที่มีพิษ โดย ผลสีส้มของเทียนหยด เป็นสารประกอบโปรตีนที่มีพิษ ไม่ควรรับประทาน หากรับประทานเข้าไปแล้วเคี้ยว อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ (แต่ถ้าหากรับประทานเข้าไปแล้วไม่เคี้ยว จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย)