วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557



บุนนาค

บุนนาค ภาษาอังกฤษ Iron wood, Indian rose chestnut บุนนาค ชื่อวิทยาศาสตร์ Mesua ferrea L. จัดอยู่ในวงศ์ CLUSIACEAE (GUTTIFERAE) เช่นเดียวกับกระทิง ติ้วเกลี้ยง ติ้วขน ชะมวง มะดัน มะพูด มังคุด รงทอง ส้มแขก และสารภี
สมุนไพรบุนนาค ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีก เช่น สารภีดอย (เชียงใหม่), ก๊าก่อ ก้ำก่อ (แม่ฮ่องสอน), ปะนาคอ ประนาคอ (ปัตตานี), นาคบุตร นากบุต รากบุค (ภาคใต้), ต้นนาค เป็นต้น พบได้มากในประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา อินโดจีน พม่า ไทย คาบสมุทรมาเลเซีย และสิงค์โปร์ และยังเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพิจิตรอีกด้วย
ต้นบุนนาค กับความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้เป็นผู้มีความประเสริฐและมีบุญ (พ้องกับความหมายของชื่อ) และคำว่านาคยังหมายถึง พญานาคที่มีแสนยานุภาพ ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองภัย นอกจากนี้ยังเชื่อว่าจะช่วยป้องกันภัยอันตรายต่างๆ จากภายนอกได้ด้วย เนื่องจากใบของบุนนาคสามารถช่วยรักษาพิษต่างๆ ได้ โดยจะนิยมปลูกต้นบุนนาคไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน และปลูกกันในวันเสาร์เพื่อเอาคุณ


ขี้เหล็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์Senna siamea Lam.) จัดเป็นพืชในวงศ์ Leguminosae นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลางบางที่) ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มาเลย์-ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้) เป็นต้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้10 อัน ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต เป็นต้น



หมาก

หมาก ชื่อสามัญ Areca nut, Areca nut palm, Areca palm, Betel nut palm, Betel Nuts
หมาก ชื่อวิทยาศาสตร์ Areca catechu Linn. จัดอยู่ในวงศ์ ARECACEAE(วงศ์ปาล์ม) (เดิมใช้ชื่อวงศ์ PALMAE หรือ PALMACEAE)
สมุนไพรหมาก ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า หมากเมีย (ทั่วไป), หมากสง (ภาคใต้), แซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), สีซะ (กะเหรี่ยง-ภาคเหนือ), มะ (ชอง-ตราด), เซียด (ชาวบน-นครราชสีมา), ปีแน (มลายู-ภาคใต้), ปิงน๊อ (จีนแต้จิ๋ว), ปิงหลาง (จีนกลาง) เป็นต้น



หว้า (อังกฤษJambolan plum, Java plumชื่อวิทยาศาสตร์Syzygium cumini) เป็นไม้ประเภทไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดจากอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี








ความเป็นมาและแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

          ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช"การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควร ใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการ ศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว"
          โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริฯ ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริ จัดตั้งงาน "สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน" เพื่อเป็นสื่อในการสร้าง จิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยให้เยาวชนนั้น ได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่า ประโยชน์ ความ สวยงาม อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พืชพรรณ ต่อไป ซึ่งสามารถดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ของโรงเรียน โดยมีองค์ประกอบดังกล่าว เป็นสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ใช้ในวัตถุประสงค์ดังกล่าว อีกทั้งใช้ในการศึกษาและเป็น ประโยชน์ต่อเนื่องใน การเรียนการสอนวิชาต่างๆ

          สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  จึงเป็นการดำเนินงานที่อิงรูปแบบของ “สวนพฤกษศาสตร์” โดยมี การรวบรวมพันธุ์ไม้ที่มีชีวิต มีแหล่งข้อมูลพรรณไม้ มีการศึกษาต่อเนื่อง มีการเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง พรรณไม้ดอง มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเข้ามาปลูกรวบรวมไว้ในโรงเรียน และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการบันทึกรายงานและข้อมูล รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ มีมุมสำหรับศึกษาค้นคว้าและมีการนำไปใช้ประโยชน์เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เป็นการดำเนินการให้สอดคล้อง กับสภาพท้องถิ่น ไม่ฝืนธรรมชาติ และเป็นไปตามความสนใจและความพร้อมของโรงเรียน ดำเนินการ โดยความสมัครใจ ไม่ให้เกิดความเครียด

          ดร. พิศิษฐ์ วรอุไร ประธาน คณะกรรมการบริหารโครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่อง มาจากพระราชดำริฯ ( ปัจจุบันเป็นกรรมการที่ปรึกษา ในคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และประธานคณะที่ปรึกษาประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ) ได้ประชุม หารือกับคณาจารย์และ ราชบัณฑิต ด้านพฤกษศาสตร์ เห็นพ้องต้องกันที่จะใช้ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” เป็นสื่อในการที่จะให้นักเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้มีความเข้าใจ เห็นความสำคัญ ของพืชพรรณ เกิดความรัก หวงแหน และรู้จักการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริ และแนวปฏิบัติให้เป็นงานหนึ่งในกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืช และชัดเจนใน คำจำกัดความของ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” ซึ่งจะดำเนินการในพื้นที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษา โดยใช้แนวทางการดำเนินงานตามแบบอย่างสวนพฤกษศาสตร์ ในการเป็นที่รวบรวม พรรณไม้ที่มีชีวิต มีการศึกษาต่อเนื่อง มีห้องสมุดที่ใช้ในการศึกษา เก็บตัวอย่าง พรรณไม้แห้ง-ดอง แต่ย่อขนาดมาดำเนินการในพื้นที่เล็กๆ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จึงได้จัดการประชุมเพื่อเผยแพร่ พระราชดำริและแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนให้กับโรงเรียนมัธยมสังกัด กรมสามัญศึกษา การประถมศึกษาแห่งชาติ และการศึกษาเอกชน ซึ่งปัจจุบันสังกัดในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) โดยให้โรงเรียนที่สนใจสมัครใจที่จะร่วมสนองพระราชดำริ สมัครเป็นสมาชิก ขณะนี้มีโรงเรียนสมาชิก ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา 860 โรงเรียน ( ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2550) 

          สำหรับการดำเนินงานในระยะ 5 ปีที่สี่ ( ตุลาคม 2549 – กันยายน 2554 ) มีนโยบายการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เข้มข้น = เนื้อหาวิชาการมากขึ้น เข้มแข็ง = มีผู้เข้าร่วมมากขึ้น พัฒนา = พัฒนาไปสู่ประโยชน์แท้ โดยให้โรงเรียน สถาบันการศึกษา ได้มีสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ เพื่อเข้าถึงวิทยาการ ปัญญาและภูมิปัญญาแห่งตน ปฎิบัติตนเป็นผู้อนุรักษ์ พัฒนา สรรพชีวิต สรรพสิ่ง ด้วยคุณธรรม ผู้บริหาร ครู อาจารย์ เข้าถึง สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ทั้งปรัชญาและ บรรยากาศสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ปฏิบัติงานเป็นหนึ่ง นักเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษา เล่น รู้ ธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว ระดับมัธยมศึกษา เรียนรู้โดยตน มีวิทยาการของตน โดยธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว นักศึกษาระดับอุดมศึกษา เรียนรู้โดยตน ในปัจจัย เหตุ และส่งผลแปรเปลี่ยน เป้าหมาย ให้มีโรงเรียน สถาบันการศึกษา เป็นแบบอย่างของ การมี การใช้ ศักยภาพ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนอย่างเหมาะสม ให้นักเรียน นักศึกษาได้เรียนรู้ ทุกสาขาวิชา ในลักษณะบูรณาการวิทยาการ และบรูณาการชีวิต จากปัจจัยศักยภาพ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน การดำเนินงานมุ่งสู่ประโยชน์แท้แก่มหาชน มุ่งสู่กระแสปูทะเลย์มหาวิชาลัย บนฐานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยมีปรัชญาการสร้างนักอนุรักษ์ คือให้ การสัมผัสในสิ่งที่ไม่เคยได้สัมผัส การรู้จริงในสิ่งที่ไม่เคยได้รู้จริง เป็น ปัจจัย สู่ จินตนาการ เหตุแห่งความอาทร การุณย์ สรรพชีวิต สรรพสิ่ง และให้เกิด บรรยากาศสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน บนความเบิกบาน บนความหลายหลาก สรรพสิ่ง สรรพการกระทำ ล้วนสมดุล พืชพรรณ สรรพสัตว์ สรรพสิ่ง ได้รับความการุณย์ บนฐานแห่งสรรพชีวิต นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ ศิลปกร กวี นักตรรกศาสตร์ ปราชญ์น้อย ปรากฏทั่ว

          การดำเนินงาน สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ด้วย ศรัทธา ศึกษาเข้าใจในพระราชดำริ เข้าใจในปรัชญา การสร้างนักอนุรักษ์ บรรยากาศสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สร้างแนวคิดในการนำสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ สร้างแนวทาง และจัดทำกระบวนการหรือวิธีการ โดยประโยชน์จากการดำเนินงานสวนพฤกษสาสตร์โรงเรียนนั้น ได้ทักษะ ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา ศิลปะ การจัดการ และเกิดคุณธรรม ในเรื่องความรับผิดชอบ ความซื่อตรง ความอดทน สามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตา กรุณา มุทิตา ฯลฯ

           ธรรมชาติของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ดำเนินการโดย ผู้ไม่เชี่ยวชาญ บทบาทสำคัญคือเมื่อมีแล้ว ใช้พื้นที่นั้น เรียนรู้ เป็นสถานอบรมสั่งสอนเบ็ดเสร็จ เกิดทั้งวิทยาการและปัญญา กำหนดแนวทาง ในการใช้ธรรมชาติเป็นปัจจัย ให้เรารู้สิ่งรอบตน โดยการสัมผัสด้วยตา หูจมูก และจิตที่แน่ว จรดจ่อ อ่อนโยน ให้อารมณ์ ในการสัมผัส เรียนรู้ขณะที่สัมผัส แล้วกลับมาพิจารณาตน ชีวิต กาย จิตใจ การดำเนินศึกษาเรียนรู้จากสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ข้อมูลที่ได้รับจะเป็นฐานด้านทรัพยากรกายภาพและชีวภาพ เกิดเป็นตำราในแต่ละเรื่อง เป็นฐานความรู้ เกิดความมั่นคงทาง วิทยาการ ของประเทศไทย เกิดเป็นผลทางเศรษฐกิจ เป็นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง

          การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ควรทำด้วยความสมัครใจ สอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่ให้เกิดความเครียด มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน เบื้องแรกต้องทำความเข้าใจในเรื่องแนวคิดแนวปฏิบัติว่า สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นสวนของการใช้ประโยชน์ ที่จะนำมาใช้เป็นฐานการเรียนรู้ ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน สร้างจิตสำนึกในการ อนุรักษ์พืชพรรณ มิใช่เป็นเพียงสวนประดับ สวนหย่อมหรือ สวนสวยโรงเรียนงาม แต่เป็นงานที่เข้ามาสนับสนุน สวนที่มีอยู่แล้วหรือดำเนินการขึ้นใหม่ ซึ่งจะให้ความรู้ พัฒนาสภาพแวดล้อมตามลำดับ เป็นงานที่จะดำเนินอย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ เพราะสามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ไม่ต้องลงทุน เพียงแต่ให้เด็กรู้จักสังเกต เรียนรู้ ตั้งคำถาม และหาคำตอบ เป็นข้อมูลสะสมอันจะ ก่อให้เกิดความรู้และผู้เชี่ยวชาญในพันธุ์ไม้นั้นๆ รวมทั้งเป็นที่รวบรวมพันธุ์ไม้หายาก พันธุ์ไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์ พรรณไม้ที่เป็นประโยชน์ พืชสมุนไพร พืชผักพื้นเมือง เป็นที่รวมภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการใช้พื้นที่นั้น เรียนรู้ เป็นสถานอบรมสั่งสอนเบ็ดเสร็จ เกิดมีทั้งวิทยาการ ทั้งปัญญา

          สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ของโรงเรียนที่เป็นสมาชิกจะเป็นส่วนหนึ่งของ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ” ที่เชื่อมต่อด้วยระบบข้อมูล จะเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุด เนื่องจากมีสมาชิกกระจายอยู่ทั่วประเทศ มีความหลายหลากของพรรณไม้ ภูมิประเทศและความหลายหลากของการปฏิบัติ ในการนำเอาต้นไม้ พืชพรรณในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นสื่อการเรียนการสอน เป็นฐานการเรียนรู้

           การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ดำเนินการโดยนักเรียน มีครูอาจารย์เป็นผู้ให้คำแนะนำสนับสนุน ผู้บริหารเป็นหลักและผลักดัน มีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เป็นสนับสนุนทางวิชาการ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จึงเป็นการดำเนินงานของโรงเรียนโดยสมัครใจ ที่จะนำแนวพระราชดำริและแนวทาง การดำเนินงานที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ให้คำแนะนำมาปฏิบัติ โดยเปิดโอกาสให้แต่ละโรงเรียนดำเนินงานตามความพร้อม ไม่ฝืนธรรมชาติ และนำพืชพรรณไม้ใน โรงเรียนพัฒนาเป็นฐานการเรียนรู้ เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ อันจะเกิดผลประโยชน์แก่นักเรียน ครู อาจารย์ที่ดำเนินงาน เกิดข้อมูลองค์ความรู้ วิธีการที่จะทำให้เกิดผู้เชี่ยวชาญ สามารถที่จะนำไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการ เพื่อเสนอขอตำแหน่งปรับระดับตำแหน่งทางวิชาการต่อไป

           สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมีวิธีดำเนินการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมการดำเนินงานสอดคล้อง กับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 นโยบายปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ กรมสามัญศึกษา การประถมศึกษาแห่งชาติ นโยบายส่วนใหญ่ของโรงเรียน และสอดคล้องกับในหมวด 4 แนวทางจัดการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542


นทรี (อังกฤษCopperpod, Golden Flamboyant, Yellow Flamboyant, Yellow Flame Tree, Yellow Poinciana, Radhachura) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว ทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกดอกในฤดูแล้ง ช่วงเดือน มีนาคม-มิถุนายน
นนทรีมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้ กระถินแดง (ตราด) กระถินป่า (ตราด,สุโขทัย) และสารเงิน (เชียงใหม่,เหนือ)


เต่าร้าง ชื่อวิทยาศาสตร์Caryota urens เป็นพืชในวงศ์ Palmae เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ขนาดใหญ่ ไม่มีหนาม ปล้องบนลำต้นยาว แผ่นใบเป็นร่องรูปตัว V ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ก้านใบยาวขนาดใหญ่ ออกดอกแล้วตาย ดอกช่อแยกเพศ ผลสุกสีแดง พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย ตอนใต้ของจีน ไทยและเวียดนาม
เนื้อไม้ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง และทำเครื่องมือทางการเกษตร เป็นไม้ประดับ ช่อดอกปาดเอาน้ำหวานมาผลิตน้ำตาลได้ ใบใช้มุงหลังคา ทำเชือก ยอดอ่อนต้มรับประทานได้ ทางภาคใต้นำยอดนำมาต้มกะทิกับกุ้ง


ราชพฤกษ์ หรือ คูน (อังกฤษGolden showerชื่อวิทยาศาสตร์Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้



ชื่อ ตาลฟ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bismarckia nobilis Hildebr. & H. Wendl.
ชื่อสามัญ  Bismarck palm
ชื่ออื่นๆ ปาล์มมาดากัสการ์
วงศ์ PALMAE
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ลักษณะทั่วไป
สูงได้ถึง 25 เมตร ลำต้นขนาด 40-50 เซนติเมตร ใบเดี่ยวรูปพัด เรียงสลับ กว้าง 2-3 เมตร 
แผ่นใบหนาสีเขียวอมฟ้า ปลายใบจักเว้าลึกเกือบครึ่งของตัวใบ ก้านใบยาว 2 เมตร มีขนสีน้ำตาลปกคลุม 
ขอบก้านเป็นสันแหลม โคนก้านแตกที่กึ่งกลาง ดอกสีขาวนวล ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ 
ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกห้อย ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงรูปกลมรี ปลายแหลม ขนาด 4 เซนติเมตร ผลสุกสีน้ำตาล





ต้นปาล์มชวา 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Livistona rotundifolia (Lam.) Mart. 
ชื่อพื้นเมือง : ยะวา 
ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นขนาด 20 เซนติเมตร 
ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยวรูปพัด เรียงสลับ กว้างประมาณ 1..5 เมตร แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน แตกใบย่อย 
จักเว้าลึกน้อยกว่าครึ่งตัวใบ ก้านใบสีเขียวยาวประมาณ 1.5 เมตร ขอบก้านใบมีหนามแข็ง 
ดอก (Flower) : สีครีม เหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ ช่อดอกยาวประมาณ 2เมตร 
ผล (Fruit) : ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ติดผลจำนวนมาก ทรงกลม ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร ผลแก่สีส้ม 
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ทรงพุ่มสวย ปลูกประดับในกระถางและปรับตัวอยู่ในห้องปรับอากาศได้ดีเมื่อสูงกว่า 1 เมตร ควรปลูกลงแปลงกลางแจ้ง เช่น สวนสาธารณะ 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Neodypsis decaryi
ชื่อสามัญ : Triangle Palm

เป็น ปาล์มต้นเดี่ยวสูงได้ถึง 10 เมตรลำต้นตรง มีข้อปล้อง 
คอเป็นสามเหลี่ยม ทางใบยาวปลายโค้ง ใบสีเขียวอมเทา ดอกสีส้ม สมบูรณ์เพศ  
ช่วงที่ยังไม่มีลำต้นจะเป็นช่วงที่สวยงามเพราะจะเห็นแต่ส่วนคอเป็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจน 
ปลูกเป็นไม้กระถางขนาดใหญ่ได้หรือปลูกเป็นกลุ่มกลางแจ้ง




อินจัน

อินจัน หรือ ลูกอิน ลูกจัน (อินจัน ภาษาอังกฤษ Gold Appleจันอิน ชื่อวิทยาศาสตร์Diospyros decandra Lour. จัดอยู่ในวงศ์ EBENACEAE ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมะพลับ และมะเกลือ
อินจันก็เป็นพืชท้องถิ่นของบ้านเรานี่เองครับ และยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น จัน, อินจันอินจันโอจันอินจันลูกหอมจันท์ลูกหอมจันขาวลูกจันลูกอินจันอินลูกจันทน์ลูกจันทร์ ต้นจัน เป็นต้น
ต้นจันอินยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี และยังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร
ต้นอินจัน หรือ ต้นจัน เป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้า เป็นต้นไม้โบราณที่ในปัจจุบันใกล้จะศูนย์พันธุ์ เดี๋ยวนี้จะหาดูได้ค่อนข้างยาก ซึ่งเมื่อก่อนจะนิยมปลูกไว้ตามวัดต้น อินจันนับว่าเป็นไม้ผลที่ค่อนข้างแปลก โดยต้นเดียวกันแต่ออกผลได้ 2 แบบ ซึ่งไม่เหมือนกัน ผลหนึ่งลูกกลมป้อมๆขนาดใหญ่กว่ามาก เราเรียกว่า “ลูกอิน” แต่อีกผลลูกแบนๆแป้นๆ มีขนาดเล็กกว่า เราจะเรียกว่า “ลูกจัน



กระทิง มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ: กระทิง กากะทิง (ภาคกลาง), ทิง (กระบี่), เนาวกาน (น่าน), สารภีทะเล (ประจวบคีรีขันธ์), สารภีแนน (ภาคเหนือ) เป็นดอกไม้ลักษณะ: เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20 – 25 เมตร เปลือกเรียบสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลปนเหลือง เปลือกในสีชมพูเนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม สีเขียวเข้ม กิ่งอ่อนเกลี้ยง ยอดอ่อนเรียวเล็ก ปลายทู่ ออกดอกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อย กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ผลเป็นผลสดทรงกลม ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง
การดูแลรักษาทำได้โดยชอบดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ความชุ่มชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด




ไทรย้อยใบแหลม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไทร (ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus benjaminaอังกฤษWeeping fig, Ficus tree) เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสันแตกต่างกันตามชนิดย่อย



ชื่อสามัญ :  Manila Palm, Christmas Palm
                                                 ชื่ออื่น : หมากคอนวล, หมากเยอรมัน
                                                 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adonidia merrillii
                                                 ถิ่นกำเนิด : ฟิลิปปินส์

        เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ปลูกกลางแจ้ง เป็นแถวต้นเดียว หรือปลูกเป็นกลุ่ม แบบนี้ก็สวย ทนน้ำท่วมได้ดี
 

มีอีกชนิดเรียกว่าหมากนวลสีทอง(
Adonidia merrillii 'Golden' )ที่ทุกส่วนของลำต้นเป็นสีทอง โดยเฉพาะส่วนของใบย่อยและคอนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ใช้ระยะเวลาในการงอก 1-2 เดือน


ต้นปาล์มสิบสองปันนา
 ชื่อสามัญ :Dwarf Date ,Pigmy Date
                                         ชื่ออื่น : สิบสองปันนา
                                         ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phoenix roebelenii
                                         ถิ่นกำเนิด : พม่า, อินเดีย, แคว้นสิบสองปันนา

              ความสูงที่นำมาใช้ประดับ มีความสูงตั้งแต่ 50 เซนติเมตรขึ้นไป ปลูกเป็นไม้กระถางก็ได้ ปลูกลงสนามก็จัดเป็นกลุ่มหรือเป็นแถวเดี่ยว


ชื่อสามัญ : Chinese Fan Palm ,ปาล์มเซี่ยงไฮ้
ชื่ออื่น : ปาล์มจีน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Livistona chinesis
ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะริวกิวของญี่ปุ่น
      เหมาะปลูกลงสนามที่กว้าง ยังมีปาล์มอีกสองต้นที่ลักษณะคล้ายกันมาก คือปาล์มลู่ลม Livistona decipiensชื่อสามัญเรียกว่า Ribbon Fan Palm หรือ Weeping Cabbage Palm และอีกต้น คือ ปาล์มลู่ลมLivistona drudie  ชื่อสามัญคือ Drudes Palm  ความแตกต่างอยู่ที่ลำต้นไม่เหมือนกันและใบที่ลู่ลงมากน้อยต่างกัน อีกสองต้นถ้าได้รูปแล้วจะนำมาเปรียบให้ดู

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557













องดอกบวบ 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pseuderanthemum reticulatum (Hook.f.) Radlk.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่อสามัญ : Caricature Plant
ชื่ออื่นๆ : ใบทอง ใบรวยทอง 
ลักษณะทั่วไปไม้พุ่ม ลำต้นมักเปราะบางหักง่าย มีความสูงไม่เกิน 2 เมตร ชอบแสงมาก ชอบน้ำปานกลาง ใบ ใบคู่ตรงกันข้าม ใบมักมีสีสันสวยงาม ดอกจะมีลักษณะเป็นหลอด ปลายหลอดจะแยกเป็น 5 กลีบดอก ดอกจะมีลักษณะเป็นหลอด ปลายหลอดจะแยกเป็น 5 กลีบ มักออกปลายยอด มีเกสรตัวผู้ยื่นออกมา 









อบเชยเถา
ชื่ออื่น กำหยาน กู้ดิน เครือเขาใหม่ (เหนือ) เชือกเถา (นครสวรรค์) อบเชยป่า (กรุงเทพ) อบเชยเถา (กลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Atherolepis pierrei Cost. var. glabra Kerr.
วงศ์ ASCLEPIADACEAE
ชื่อสามัญ –
แหล่งที่พบ พบโดยทั่วไปของทุกภาค

ประเภทไม้ เป็นไม้เถาขนาดเล็ก